บทความเรื่อง “ปรากฏการณ์เสื้อเหลือง” นายอภิชาติ วัชรพันธุ์ รหัส 4977802009
ดร.เลิศชาย ศิริชัย มหาวิทยาลัยวลักษณ์
เสื้อเหลืองเกิดขึ้นได้อย่างไร?
จุดเริ่มต้นเสื้อเหลืองนั้น เนื่องมาจากวันจันทร์เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สีเหลืองอันสีเป็นประจำวันจึงเป็นสีสัญลักษณ์พระองค์ท่าน ถูกนำมาผลิตเป็นโปรดักส์ต่าง ๆ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ ในวาระมหามงคล ปีแห่งพ่อหลวงของปวงไทย
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วิพากษ์ดุษฎีบัณฑิต
บทวิพากษ์ดุษฎีนิพนธ์
เรื่อง ผู้นำชุมชนชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณ๊
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอำนาจและการสร้างอำนาจให้กับตน
ผู้สอน ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณบดีคณะศิลปาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดย นายอภิชาติ วัชรพันธุ์ เลขที่ 09
สรุปสาระโดยย่อของงานวิจัย
จากการศึกษาดุษฎีนิพนธ์ของคุณไพฑูรย์ โพธิสว่าง เรื่อง “ผู้นำชุมชนชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณี : ปัจจัยที่ทำให้เกิดอำนาจและการสร้างอำนาจให้กับตน” งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยที่ผู้ทำวิจัยได้เมื่อปี พ.ศ.2529-2532 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารงานวิจัย อาทิ ปรัชญาตะวันตกและตะวันออก ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำในชุมชนบทและประกอบกับงานวิจัยของชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาการวิจัยชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผู้นำชุมชนชนบทไทย ได้แก่ อัมโยต์ แจนซิส เอฟและคณะ เคลาสเนอร์ ยัตซูซิโร ฯลฯ และนักวิชาการศึกษาของไทย คือ พัทยา สายหู ,สุเทพ สุนทรเภสัช ฯลฯ ได้วิจัยเกี่ยวกับผู้นำชนบทของประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งพอที่จะสรุปงานวิจัยของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้ศึกษาชุมชนชนบท เน้นหนักชุมชนบทแบบดั้งเดิมในอดีตที่ผ่านมา เป็นการศึกษาผู้นำและลักษณะสำคัญทางสังคมในเรื่องอื่น ๆ รวมกันไม่เฉพาะเจาะจงแต่เรื่องผู้นำชุมชนเท่านั้น และไม่เน้นหนักในเรื่องอำนาจอิทธิพลของผู้นำเท่าใดหนัก แต่เน้นไปที่บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนทางสังคมรวมทั้งบทบาทของผู้นำในการพัฒนาชนบท และยังเน้นไปที่ตัวผู้นำที่เป็นทางการ แต่ไม่บ่งบอกถึงวิธีการระบุหรือค้นหาตัวผู้นำที่จะนำมาศึกษาอย่างชัดเจนเพียงพอ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในความหมายของนักรัฐศาสตร์ ได้ให้ความสนใจชนชั้นนำ ซึ่งชนชั้นนำในชุมชนนั้น หมายถึง เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ได้เปรียบ ได้ประโยชน์และอยู่บนยอดปิรามิดของสังคมในด้านต่าง ๆ มีอยู่ในจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับคนในชุมชน และเป็นชนชั้นนำที่อยู่บนยอดปิรามิดทางด้านสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ การศึกษา การประกอบอาชีพ การเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของร้านค้า ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ บางคนอาจเป็นผู้นำชุมชนชนบทด้วย แต่บางคนเป็นผู้นำชนบทในด้านต่าง ๆ มิใช่เป็นผู้นำชนบท ผู้วิจัยจะต้องนำวิธีของนักรัฐศาสตร์มาระบุหาวิธีการคัดเลือกและค้นหาชนชั้นนำมาศึกษาที่มีระเบียบวิธีการที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะต้องนำเป็นแบบอย่างในการศึกษาระบุตัวผู้นำชนบทต่อไป ในการวิจัยจะต้องแยกผู้นำชุมชนชนบทกับผู้นำชุมชนในด้านอื่น ๆ แยกออกจากกันให้เด็ดขาด เพื่อที่จะให้ผลการวิจัยออกมากระจ่างชัดเจน
เรื่อง ผู้นำชุมชนชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณ๊
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอำนาจและการสร้างอำนาจให้กับตน
ผู้สอน ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณบดีคณะศิลปาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดย นายอภิชาติ วัชรพันธุ์ เลขที่ 09
สรุปสาระโดยย่อของงานวิจัย
จากการศึกษาดุษฎีนิพนธ์ของคุณไพฑูรย์ โพธิสว่าง เรื่อง “ผู้นำชุมชนชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณี : ปัจจัยที่ทำให้เกิดอำนาจและการสร้างอำนาจให้กับตน” งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยที่ผู้ทำวิจัยได้เมื่อปี พ.ศ.2529-2532 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารงานวิจัย อาทิ ปรัชญาตะวันตกและตะวันออก ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำในชุมชนบทและประกอบกับงานวิจัยของชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาการวิจัยชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผู้นำชุมชนชนบทไทย ได้แก่ อัมโยต์ แจนซิส เอฟและคณะ เคลาสเนอร์ ยัตซูซิโร ฯลฯ และนักวิชาการศึกษาของไทย คือ พัทยา สายหู ,สุเทพ สุนทรเภสัช ฯลฯ ได้วิจัยเกี่ยวกับผู้นำชนบทของประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งพอที่จะสรุปงานวิจัยของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้ศึกษาชุมชนชนบท เน้นหนักชุมชนบทแบบดั้งเดิมในอดีตที่ผ่านมา เป็นการศึกษาผู้นำและลักษณะสำคัญทางสังคมในเรื่องอื่น ๆ รวมกันไม่เฉพาะเจาะจงแต่เรื่องผู้นำชุมชนเท่านั้น และไม่เน้นหนักในเรื่องอำนาจอิทธิพลของผู้นำเท่าใดหนัก แต่เน้นไปที่บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนทางสังคมรวมทั้งบทบาทของผู้นำในการพัฒนาชนบท และยังเน้นไปที่ตัวผู้นำที่เป็นทางการ แต่ไม่บ่งบอกถึงวิธีการระบุหรือค้นหาตัวผู้นำที่จะนำมาศึกษาอย่างชัดเจนเพียงพอ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในความหมายของนักรัฐศาสตร์ ได้ให้ความสนใจชนชั้นนำ ซึ่งชนชั้นนำในชุมชนนั้น หมายถึง เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ได้เปรียบ ได้ประโยชน์และอยู่บนยอดปิรามิดของสังคมในด้านต่าง ๆ มีอยู่ในจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับคนในชุมชน และเป็นชนชั้นนำที่อยู่บนยอดปิรามิดทางด้านสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ การศึกษา การประกอบอาชีพ การเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของร้านค้า ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ บางคนอาจเป็นผู้นำชุมชนชนบทด้วย แต่บางคนเป็นผู้นำชนบทในด้านต่าง ๆ มิใช่เป็นผู้นำชนบท ผู้วิจัยจะต้องนำวิธีของนักรัฐศาสตร์มาระบุหาวิธีการคัดเลือกและค้นหาชนชั้นนำมาศึกษาที่มีระเบียบวิธีการที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะต้องนำเป็นแบบอย่างในการศึกษาระบุตัวผู้นำชนบทต่อไป ในการวิจัยจะต้องแยกผู้นำชุมชนชนบทกับผู้นำชุมชนในด้านอื่น ๆ แยกออกจากกันให้เด็ดขาด เพื่อที่จะให้ผลการวิจัยออกมากระจ่างชัดเจน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)